หลักการทำงานของวงจร
ในตำแหน่งปกติก้านสูบอยู่ในตำแหน่งเข้าสุด เมื่อกดวาล์ว 1.2 ลมจากรู P จะต่อไปรู A ได้เป็นสัญญาณ Z ทำให้เมนวาล์ว 1.1 เปลี่ยนตำแหน่งให้เลื่อนไปทางขวา ลมจากรู P จะออกทางรู A ทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออก เมื่อกดวาล์ว ลมจากรู P จะต่อไปรู A ของวาล์ว 1.3 ได้เป็นสัญญาณ Y ลมจผ่านวาล์ว 1.3 ไปดันให้เมนวาล์ว 1.1 กลับสู่ตำแหน่งเดิน ลมจากรู P จะต่อไปรู B จะไปดันก้านสูบเคลื่อนที่เข้า
วาล์วควบคุมแบบลูกกลิ้ง ( Roller )
การใช้วาล์วแบบลูกกลิ้ง ( Roller ) ควบคุมการทำงานของก้านสูบโดยติดตั้งไว้ที่ปลายก้านสูบเมื่อก้านสูบเคลื่อนที่มากดไห้วาล์วสามารถทำงานได้
รูปที่ 5.3 แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์วาล์วควบคุมแบบลูกกลิ้ง(Roller)
วงจรแบบก้านสูบเลื่อนกลับโดยอัตโนมัติ
ในวงจรนี้ก้านสูบจะเคลื่อนที่ออกสุดช่วงชักและชนกับวาล์ว 1.3 ทำให้เคลื่อนกลับที่ทันที
รูปที่ 5.4 แสดงวงจรแบบก้านสูบเคลื่อนกลับอัตโนมัติ
การทำงาน เมื่อกดวาล์ว 1.2 ลมจะผ่านไปดันให้วาล์ว 1.1 เปลี่ยนตำแหน่งไปทางขวาลมจะไปดันก้านสูบให้เคลื่อนออก เมื่อก้านสูบเลื่อนออกถึงปลายช่วงชัก จะไปกดวาล์ว 1.3 ซึ่งเป็นวาล์วที่ควบคุมการทำงานโดยกลไกลลูกกลิ้งทำให้ลมผ่านวาล์ว 1.3 ไปดันวาล์ว 1.1 เลื่อนกลับตำแหน่งเดิม ก้านสูบก็จะเคลื่อนกลับเองโดยอัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น